ปักกิ่ง, 19 ก.พ. (ซินหัว) -- วันพุธ (19 ก.พ.) จีนประกาศให้แหล่งโบราณคดีสำคัญภายในประเทศ จำนวน 6 แห่ง เป็นสุดยอดการค้นพบใหม่ประจำปี 2024 ณ การประชุมประจำปีเพื่อประกาศและแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าล่าสุดและการค้นพบทางโบราณคดีในจีน ซึ่งจัดโดยสถาบันบัณฑิตสังคมศาสตร์แห่งชาติจีน
1) แหล่งโบราณคดียุคหินเก่าต้าต้งในเมืองเหอหลงของมณฑลจี๋หลิน ซึ่งเป็นการค้นพบแหล่งโบราณคดียุคหินเก่าตอนปลายขนาดใหญ่ที่สุดและความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มอบข้อมูลลำดับวัฒนธรรมที่ชัดเจนและเก่าแก่ที่สุดของภูมิภาค
2) แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่เซี่ยทังในอำเภอเซียนจวีของมณฑลเจ้อเจียง ถือเป็นหลักฐานสำคัญของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่มีความเก่าแก่ถึง 10,000 ปี มอบข้อมูลใหม่สำหรับการศึกษาวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมระดับภูมิภาคและประวัติศาสตร์การเพาะปลูกข้าว
3) สุสานอู่หวังตุนในเมืองหวยหนานของมณฑลอันฮุย จัดเป็นแหล่งโบราณคดีประเภทสุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ระดับสถานะสูงสุด และโครงสร้างซับซ้อนที่สุดจากรัฐฉู่โบราณ ซึ่งมีความเก่าแก่มากกว่า 2,200 ปี โดยการขุดสำรวจนำสู่ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพิธีการฝังศพและวัฒนธรรมของรัฐฉู่ โดยเฉพาะการอพยพไปยังตะวันออก
4) แหล่งโบราณคดีซื่อวาในมณฑลกานซู่ ซึ่งเป็นการตั้งถิ่นฐานทางวัฒนธรรมของชาวหม่าเจียเหยา มีความเก่าแก่ราว 5,000 ปี
5) แหล่งโบราณคดีโจวหยวนในมณฑลส่านซี มีลักษณะเป็นโครงสร้างดินอัดขนาดใหญ่จากยุคก่อนก่อนราชวงศ์โจว
6) แหล่งโบราณคดีอุตสาหกรรมเซรามิกจิ่งเต๋อเจิ้นในมณฑลเจียงซี มีความเก่าแก่มากกว่า 600 ปี ครอบคลุมช่วงเวลาในยุคราชวงศ์หยวน (ปี 1271-1368) ราชวงศ์หมิง (ปี 1368-1644) และราชวงศ์ชิง (ปี 1636-1912)
(แฟ้มภาพซินหัว : ท่าเรือจางชุนอู้ยุคราชวงศ์ชิงตอนปลายในอำเภอฝูเหลียง เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : ถนนปูพื้นหินและท่อระบายน้ำดินเผาที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของวังที่แหล่งโบราณคดีโจวหยวนในเมืองเป่าจี มณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : แผนผังแสดงตำแหน่งขุดค้นประจำปี 2024 ของกลุ่มแหล่งโบราณคดีอุตสาหกรรมเซรามิกสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ในเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : แท่นดินและหลุมฝังโบราณวัตถุทางตอนเหนือของแหล่งโบราณคดีเซี่ยทังในอำเภอเซียนจวี มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : ผนังฝั่งตะวันตกของคูน้ำล้อมทางใต้ของแหล่งโบราณคดีซื่อวา อำเภอหลินเถา มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องทองแดงที่ขุดพบจากสุสานหมายเลข 1 ยุคจั้นกั๋วหรือยุครณรัฐตอนปลาย ที่สุสานอู่หวังตุนในเมืองหวยหนาน มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีซื่อวา อำเภอหลินเถา มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องมือหินที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดียุคหินเก่าต้าต้งในเมืองเหอหลง มณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : ตัวอักษรจารึกด้วยหมึกบนแผ่นปิดสุสานหมายเลข 1 ยุคจั้นกั๋วหรือยุครณรัฐตอนปลาย ที่สุสานอู่หวังตุนในเมืองหวยหนาน มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องมือหินขัดบางส่วนที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดียุคหินเก่าต้าต้งในเมืองเหอหลง มณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน (ซ้าย) และร่องรอยขนาดจุลภาคบนพื้นผิวของเครื่องมือ)
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องมือจากกระดูกแกะสลักลายที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดียุคหินเก่าต้าต้งในเมืองเหอหลง มณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน)
лªÉçÕÕÆ¬£¬±±¾©£¬2025Äê2ÔÂ19ÈÕ½Î÷¾°µÂÕòÊÐÂäÂíÇÅÇå´úÕòÒ¤ÒÅÖ·£¨×ÊÁÏÕÕÆ¬£©¡£2ÔÂ19ÈÕ£¬¡°ÖйúÉç»á¿ÆÑ§Ôº¿¼¹ÅѧÂÛ̳¡¤2024ÄêÖйú¿¼¹Åз¢ÏÖ¡±ÔÚ±±¾©ÖйúÀúÊ·Ñо¿Ôº¾ÙÐС£¼ªÁÖºÍÁúÊд󶴾ÉʯÆ÷ʱ´úÒÅÖ·¡¢Õã½ÏɾÓÏØÏÂÌÀÐÂʯÆ÷ʱ´úÒÅÖ·¡¢¸ÊËàÁÙä¬ÏØËÂÍÝÒÅÖ·Âí¼ÒÒ¤ÎÄ»¯¾ÛÂä¡¢ÉÂÎ÷±¦¼¦ÊÐÖÜÔÒÅÖ·¡¢°²»Õ»´ÄÏÊÐÎäÍõ¶ÕÕ½¹úÍíÆÚÒ»ºÅĹ¡¢½Î÷¾°µÂÕòÊÐÔªÃ÷ÇåÖÆ´ÉÒµÒÅַȺµÈÁùÏî¹úÄÚ¿¼¹ÅÏîÄ¿»ñÆÀ¡°2024ÄêÖйú¿¼¹Åз¢ÏÖ¡±¡£ÂÛ̳ÉÏ»¹¹«²¼ÁËÓÉÖйúÉç»á¿ÆÑ§Ôº¿¼¹ÅÑо¿ËùÖÐÑÇ¿¼¹Å¶Ó²ÎÓë·¢¾òµÄÎÚ×ȱð¿Ë˹̹ÃÉÔúÌúÅåÒÅÖ·¿¼¹Å³É¹û¡£Ð»ªÉç·¢£¨¿¼¹ÅÔÓÖ¾É繩ͼ£©
(แฟ้มภาพซินหัว : เตาเผาลั่วหม่าเฉียวยุคราชวงศ์ชิงในเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีซื่อวา อำเภอหลินเถา มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : เครื่องมือหินกระเทาะที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีเซี่ยทังในอำเภอเซียนจวี มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : โบราณวัตถุหินขนาดเล็กคล้ายใบมีดที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดียุคหินเก่าต้าต้งในเมืองเหอหลง มณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : กระดูกสัตว์จารึกอักษรที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดีโจวหยวนในเมืองเป่าจี มณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : ช่องใส่โลงไม้ภายในสุสานหมายเลข 1 ยุคจั้นกั๋วหรือยุครณรัฐตอนปลาย ที่สุสานอู่หวังตุนในเมืองหวยหนาน มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : โบราณวัตถุหยกที่ขุดพบจากสุสานหมายเลข 1 ยุคจั้นกั๋วหรือยุครณรัฐตอนปลาย ที่สุสานอู่หวังตุนในเมืองหวยหนาน มณฑลอันฮุยทางตะวันออกของจีน)
(แฟ้มภาพซินหัว : เศษชิ้นส่วนจานเคลือบสีขาวที่ขุดพบจากวังเทียนโฮ่วในเมืองจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซีทางตะวันออกของจีน)