เวลลิงตัน, 27 มี.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ของนิวซีแลนด์ค้นพบเป็นครั้งแรกว่าฉลามริกนิวซีแลนด์ (Mustelus lenticulatus) สามารถเปล่งเสียงผสมแบบแหลมสูงใต้น้ำ โดยเสียงผสมเหล่านี้มีความถี่สูงและดังเป็นระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการขบฟันที่แบนของพวกมัน
ผลการศึกษาที่เผยแพร่ผ่านวารสารรอยัล โซไซตี โอเพน ไซเอนซ์ เมื่อวันพุธ (26 มี.ค.) ระบุว่าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเมื่อฉลามรู้สึกถูกรบกวนหรือตึงเครียด โดยคณะนักวิจัยชี้ว่าจำเป็นต้องมีการศึกษเพิ่มเติมเพื่อสำรวจนัยสำคัญทางชีววิทยาของเสียงเหล่านี้
คาโรลิน นีเดอร์ ผู้เขียนหลักของผลการศึกษานี้ กล่าวว่าเป็นที่รับรู้กันว่าปลากระดูกแข็งกว่า 1,000 สายพันธุ์ ใช้เสียงในการสื่อสาร แต่ไม่เคยมีการสังเกตพบฉลามหรือปลากระดูกอ่อนสร้างเสียงอย่างจงใจขึ้นมาเอง นี่เป็นการท้าทายสมมติฐานเดิมเกี่ยวกับการสื่อสารของฉลามและเปิดทางสู่การวิจัยพฤติกรรมเปล่งเสียงของพวกมัน
ทั้งนี้ นีเดอร์เริ่มต้นสนใจเกี่ยวกับความสามารถของฉลามในการผลิตเสียง หลังจากสังเกตพบเสียงผสมอย่างไม่คาดคิดระหว่างการทดลองฝึกฝนพฤติกรรมสัตว์ ขณะทำการศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฯ ในปี 2021
(แฟ้มภาพซินหัว : คนยืนดูฉลามในกรุงเวลลิงตันของนิวซีแลนด์ วันที่ 14 ม.ค. 2021)